‘Financial Therapy’ นักบำบัดความเครียดทางการเงิน

‘Financial Therapy’ นักบำบัดความเครียดทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะในด้านสภาวะเศรษฐกิจถดถอย โรคระบาด หรือปัญหาส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเงิน ความมั่นคงด้านรายได้ เริ่มจากปัญหาเล็กสู่ปัญหาใหญ่ จนมีผลกระทบด้านอารมณ์และจิตใจ เกิดเป็นความเครียดสะสม เมื่อถึงทางตัน อยากปรึกษาใครสักคนที่เข้าใจสุขสภาพใจและสุขภาพเงินในกระเป๋า นักบำบัดการเงิน หรือ ‘Financial Therapy’ ช่วยคุณได้  ภาวะความเครียดทางการเงิน ปัญหาที่คนส่วนใหญ่พบเจอ ทุกคนต่างมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเป็นบางครั้งบางคราว แต่สำหรับบางคนอาจรู้สึกล้มเหลว และสิ้นหวัง ไม่ว่าจะจากจำนวนเงินในกระเป๋าที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตัวเองได้ หรือความล้มเหลวในหน้าที่การงาน จนความรู้สึกนั้นพัฒนาเป็นการสูญเสียความเคารพในตัวเอง เกิดเป็นภาวะวิตกกังวลจากการเงิน หรือ “Financial anxiety” สภาวะความวิตกกังวลที่สามารถได้รับการกระตุ้นจากหลายปัจจัย ผู้คนที่เผชิญกับภาวะนี้จะมีความกังวลอย่างมาก ไม่อยากทำอะไร สิ้นหวังกับชีวิต หรือกลัวแม้แต่จะมองบิลหรือยอดคงเหลือในบัญชีธนาคาร อาจเกิดขึ้นบ่อยกับคนวัยเกษียณที่จะต้องพึ่งพาเงินจากคนรอบตัวเพราะไม่สามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองได้เต็มที่ เมื่อมีจำนวนผู้ที่วิตกกังวลเรื่องการเงินเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดเป็นการก่อตั้ง Therapy Association (FTA) ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ปี 2009 มีการรวบรวมบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งศาสตร์ของจิตวิทยา และการเงินมาเจอกัน โดยพวกเขาเข้ามาศึกษา ทดลอง และวิจัยกับ Financial Therapy จนเกิดเป็นวิจัยที่ชื่อว่า The Journal […]

ภาษีที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

ภาษีที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้ สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่กำลังวุ่น ๆ กับการสร้างครอบครัว รู้หรือไม่ว่าเมื่อแต่งงานหรือมีลูกแล้ว สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่รัฐกำหนด ซึ่งครั้งนี้ ACU PAY จะมาแนะนำการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระในการชำระภาษีสำหรับพ่อแม่มือใหม่มากขึ้น 1. ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 60,000 บาท ต้องเป็นคู่สมรสตามกฎหมายและเป็นคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เท่านั้น เลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี ก็จะได้สิทธิค่าลดหย่อนส่วนเพิ่มเติมจากส่วนนี้ 2. ค่าลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร หักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งค่าตรวจครรภ์ ค่าฝากครรภ์ ค่าทำคลอด ค่าบำบัดทางการแพทย์ การพักฟื้นภายในโรงพยาบาล สำหรับการตั้งครรภ์ท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ถ้าหากคลอดลูกแฝด ก็จะได้ลดสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทเช่นกัน แต่ถ้าเป็นคุณแม่ที่ไม่มีรายได้ สามารถให้สามีเป็นคนยื่นแทนได้ โดยสามารถใช้ลดหย่อน และนำไปรวมกับสิทธิการเบิกค่าฝากครรภ์/คลอดบุตรจากสวัสดิการรัฐและเอกชน ได้ แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท  3. ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนภาษีบุตร ใช้ลดหย่อนได้ทั้งพ่อและแม่ที่มีรายได้ โดยบุตรต้องมีอายุต่ำกว่า 25 ปี หรือถ้าเกินกว่านั้น บุตรต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ  สำหรับบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย […]

เครดิตสกอริ่ง (Credit Scoring) สำคัญอย่างไรต่อการกู้เงิน

เครดิตสกอริ่ง (Credit Scoring) สำคัญอย่างไรต่อการกู้เงิน คะแนนเครดิตคืออะไร ทำไมต้องมีบัตรเครดิตเพื่อสร้างเครดิตให้ตัวเอง หลายคนอาจสงสัยถึงความสำคัญของบัตรเครดิต เพราะปกติมีบัตรเครดิตก็ใช้แค่รูดผ่อนของ แต่ความจริงแล้วบัตรเครดิตนี่แหละ จะเป็นตัววัดสามารถในการชำระหนี้ของเจ้าของบัตร ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของบัตรเครดิตในการกู้ยืมต่าง ๆเป็นอย่างมาก Credit Scoring คืออะไร ‘เครดิตสกอริ่ง’ หรือ ‘คะแนนเครดิต’ คือคะแนนประวัติเครดิตที่สถาบันการเงินใช้ในการประเมินความสามารถในการชำระหนี้จากเจ้าของบัตรเครดิต โดยดูจากสถิติและประวัติการชำระหนี้ ซึ่งจะใช้ก็ต่อเมื่อเจ้าของบัตรเครดิตต้องการยื่นกู้สินเชื่อต่าง ๆ คะแนนเครดิตจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดว่าจะได้รับการอนุมัติวงเงินหรือไม่ หรือ ได้รับจำนวนมากน้อยเท่าไร โดยเจ้าของบัตรจะได้เงินกู้มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับคะแนนเครดิตที่สถาบันการเงินพิจารณา แล้วทำไมชีวิตต้องมีคะแนนเครดิต การมีคะแนนเครดิตที่น่าเชื่อถือจะช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยกู้สินเชื่อได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นาย A อยากขอเงินกู้ซื้อบ้าน ประวัตินาย A คือไม่เคยมีบัตรเครดิตและไม่เคยมีหนี้มาก่อน เวลาซื้อสินค้าอะไรจะเลือกจ่ายเงินสดตลอด หลาย ๆ คนคงคิดว่านาย A ต้องมีคะแนนเครดิตที่ดีมาก แต่ความจริงแล้วนาย A กลับอาจจะขอกู้ยากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากสถาบันการเงินไม่สามารถรู้รายละเอียดการใช้จ่ายในแต่ละเดือน แต่ถ้านาย A มีบัตรเครดิตและประวัติผ่อนชำระสินค้า จ่ายเต็มจ่ายครบทุกเดือน สถาบันการเงินก็จะพิจารณาให้กู้ผ่านได้ง่ายขึ้น คะแนนดี มีประโยชน์อย่างไร? เพิ่มโอกาสในการได้รับบริการสินเชื่อในวงเงินที่มากขึ้น อ้างอิงจากความสามารถในการชำระหนี้ […]

ภ.ง.ด. 94 คืออะไร ต่างกับ ภ.ง.ด. 90 อย่างไร

ภ.ง.ด. 94 คืออะไร ต่างกับ ภ.ง.ด. 90 อย่างไร มนุษย์ออฟฟิศหรือพนักงานประจำอาจจะคุ้นเคยกับ ภ.ง.ด. 90 และ 91 กันมาบ้าง แต่ภ.ง.ด. 94 ต่างกับข้างต้นอย่างไร ทำไมคนทำอาชีพเสริม หรือ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำเป็นต้องจ่าย ครั้งนี้ ACU PAY จะมาสรุปให้เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.94 กับ 90 แล้วมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย ภ.ง.ด. 94 คืออะไร ภ.ง.ด.94 หรือ ภาษีเงินได้ 94 คือแบบชำระภาษีรอบครึ่งปี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นในฐานะบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ถ้ามีรายได้ตามมาตรา 40 (5) – 40 (8) ก็ต้องมีการเสียภาษีทั้งหมด โดยการยื่นภาษีกลางปีจะคำนวณจากการสรุปรายได้ทั้งหมดตั้งแต่เดือน 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. ซึ่งหากมีรายได้เกิน 60,000 บาท (สำหรับคนโสด) […]