ได้ค่าคอมมิชชั่นต้องเสียภาษีหรือไม่

ได้ค่าคอมมิชชั่นต้องเสียภาษีหรือไม่ เกิดคำถามความสงสัยมากมาย ว่าทำงานที่ได้รับค่าคอมมิชชั่นจำเป็นต้องเสียภาษีหรือไม่ ครั้งนี้จะพามาตอบข้อสงสัย พร้อมบอกวิธีคำนวณรายได้สุทธิที่ต้องไปเสียภาษีให้เข้าใจกันง่าย ๆ  พนักงานเงินเดือนที่ได้รับค่าคอมมิชชั่นเสริม หรือคนที่ได้รับรายได้เป็นค่าคอมมิชชั่น ไม่ว่าจะเป็น เซลส์ พนักงานขายประกัน ดีเทลยา อาชีพเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ภาษีเป็นภาระหน้าที่ของประชาชนที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐ และเนื่องจากค่าคอมมิชชั่นอยู่ในประเภทเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ดังนั้นคนเหล่านี้จำเป็นต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบตอนสิ้นปี รายได้เท่าไรต้องยื่นภาษี สำหรับบุคคลธรรมดาหรือมนุษย์เงินเดือนที่จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อิงจากเงินได้ขั้นต่ำและสถานภาพ ดังนี้ บุคคลโสด เงินได้ประเภทเงินเดือน รายได้ทั้งปีขั้นต่ำ 120,000 บาท เงินได้ประเภทอื่นๆ 40 (1) – 40 (6) รายได้ทั้งปีขั้นต่ำ 60,000 บาท บุคคลสมรส เงินได้ประเภทเงินเดือน รายได้ทั้งปีขั้นต่ำ 220,000 บาท เงินได้ประเภทอื่นๆ รายได้ทั้งปีขั้นต่ำ 120,000 บาท เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) คืออะไร เงินได้พึงประเมินตามมาตรา […]

รู้ทัน! กลลวงมิจฉาชีพ หลอกโอนเงิน-กดรับออเดอร์​

รู้ทัน! กลลวงมิจฉาชีพ หลอกโอนเงิน-กดรับออเดอร์ ตอนนี้มีมิจฉาชีพจำนวนมาก ได้ทำการแอบอ้างเป็นบริษัทต่าง ๆ โดยจะอ้างว่ามีงานรับค่าคอมมิชชันผ่านการกดรับออเดอร์ออนไลน์ หรือ เป็นภารกิจต่าง ๆ ให้ทำ ครั้งนี้ ACU PAY จะมาเล่าวิธีการที่มิจฉาชีพใช้ และวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้สูญเงินไปกับกลลวงนี้ วิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพ เริ่มแรกมิจฉาชีพจะโพสต์ข้อความผ่านทางแพลทฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เมื่อเหยื่อสนใจ ก็จะทำการพูดคุยผ่านทางไลน์ หรือ เทเลแกรม หรือบางครั้งมิจฉาชีพโทรมาพูดคุยเลย โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างว่าตนเองเป็นพนักงานจากบริษัทที่มีชื่ออยู่จริง พร้อมเอกสาร(ปลอม)สร้างความน่าเชื่อถือ  จากนั้นก็จะอธิบายรายละเอียดงาน ว่าเป็นงานกดรับสินค้า เพื่อดันยอดให้กับร้านค้าออนไลน์ โดยให้เหยื่อลงทะเบียนสร้างบัญชีในลิงก์ที่มิจฉาชีพส่งมา เพื่อภายหลังจะมีการโอนเงินคือกลับเข้าไปในบัญชี หลังจากเหยื่อทำการโอนเงินผ่านบัญชีม้าของมิจฉาชีพไปมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเหยื่อเริ่มรู้ตัวว่าโดนหลอก มิจฉาชีพจะเริ่มใช้คำพูดข่มขู่ บล็อกช่องทางสื่อสาร และนำเงินที่ได้หนีไปในที่สุด โดยมิจฉาชีพพวกนี้มีจิตวิทยาในการพูดคุยกับคนที่ตกเป็นเหยื่อ โดยรู้ว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักเป็นผู้ที่ต้องการรายได้ ทำให้ง่ายต่อการชักจูง มักพูดจาหว่านล้อมจนเหยื่อเชื่อใจ และโอนเงินไปโดยไม่ทันได้สังเกต นอกจากนี้ยังมีการกดดันเหยื่อผ่านคำข่มขู่ต่าง ๆ เพื่อให้เหยื่อต้องยอมทำตามแต่โดยดี แนวทางป้องกันไม่ให้โดนมิจฉาชีพหลอก 1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง ระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะรูปสำเนาบัตรประชาชนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ห้ามส่งโดยไม่มีการเซ็นกำกับเด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถนำไปทำธุรกรรมเปิดบัญชีพร้อมเพย์ได้ 2. ระมัดระวังคำเชิญชวนทำงานออนไลน์ […]

อัปเดต รวมอัตราดอกเบี้ย ‘เงินฝาก-เงินกู้’ ธนาคาร กลางปี 2566

รวมอัตราดอกเบี้ย ‘เงินฝาก-เงินกู้’ ธนาคาร กลางปี 2566 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2% ต่อปี โดยให้มีผลในทันที เพื่อสอดคล้องกับภาวะทิศทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐหลายแห่ง มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิง รวมถึงปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ดังต่อไปนี้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพิ่มขึ้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ในส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับขึ้น 0.05 – 0.25% รายละเอียดดังนี้ เงินฝากสะสมทรัพย์ เป็น 0.60% ต่อปี, เงินฝากประจำ 3 เดือน เป็น 0.95% ต่อปี, เงินฝากประจำ 6 เดือน เป็น 1.05% ต่อปี, เงินฝากประจำ 12 […]

สรรพากรรู้ ‘รายได้’ ของเราได้อย่างไร?

สรรพากรรู้ ‘รายได้’ ของเราได้อย่างไร? ใครคิดว่าทำงานมีเงินแล้วไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ สรรพากรคงไม่มีทางรู้หรอก บอกเลยว่าเตรียมตัวกันให้ดี เพราะความจริงแล้วสรรพากรสามารถรู้รายได้ของเราได้หลากหลายช่องทางมากมาย แล้วจะมีช่องทางไหนบ้างที่สรรพากรใช้ตรวจสอบการเงินของเรา ครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอกความอธิบายให้ฟัง 1. ข้อมูลการรับเงิน (เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ใบกำกับภาษี) ถึงแม้ว่าการรับเงินจะไม่โอนผ่านธนาคาร สรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ของท่านได้ เนื่องจากผู้จ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งให้แก่สรรพากรเสมอ รวมถึงแจ้งข้อมูลผู้ได้รับเงิน ทั้งชื่อ เลขบัตรประชาชนไปในแบบนำส่งภาษีที่หักไว้ดังกล่าวด้วย และถ้าหากบริษัทผู้จ่ายเงินถูกสรรพากรตรวจสอบเอกสาร ผู้ประกอบการจะต้องมีการนำส่งรายการบันทึกค่าใช้จ่ายของบริษัทให้กรมสรรพากร ซึ่งในบันทึกนั้นจะต้องมีการระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด ส่งพร้อมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน 2. มีเงินโอนเข้าบัญชีหลายครั้ง และเป็นเงินจำนวนมาก ผ่าน E-Payment หากมีเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ผ่านช่องทางสมาร์ตโฟน บัตรเครดิตต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สรรพากรทราบรายละเอียดของเงินที่เข้ามาเยอะผิดปกติได้ เพราะตามกฎหมายผู้ให้บริการด้านการเงิน อย่าง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ […]