fbpx

อัปเดต Tokenomic เศรษฐศาสตร์ของโทเคน คืออะไร

Tokenomic

เราเริ่มรู้จักกับความว่า cryptocurrency cion Token กันมาสักพักเเล้ว แต่มีอีกหนึ่งว่าที่เราควรจะทราบนั่นก็คือ Tokenomic คำนี้หมายความว่าอย่างไรมาดูกันครับ

สารบัญ

Tokenomic คืออะไร

Tokenomic  เกิดจากการนวมกันของคำว่า Token (โทเคน) และ Economic (เศรษฐศาสตร์)ซึ่งแปลออกมาตรงตัวเลยก็จะเป็น “เศรษฐศาสตร์ของโทเคน” นั้นเอง คือนำระบบการเงินเข้ามาผสมผสานกันกับ ‘โทเคน’ ซึ่งเป็นการเอาความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับตัวโทเคน และอธิบายออกมาในรูปแบบที่สามารถจับต้องได้ โดยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ก็จะมีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานอย่าง Demand/Supply หรือลึกลงไปหน่อย ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินฝืด ไปจนถึงการประเมินอัตราการเติบโตของขนาดตลาด

ความสำคัญของ Tokenomic

ความสำคัญของ Tokenomic จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจระบบของ ‘โทเคน’ หรือเหรียญนั้นๆ เหมือนกับที่เราเข้าใจระบบเศรษฐศาสตร์การเงินโลกในปัจจุบัน ที่จะช่วยทำให้เรามองเห็นถึงอนาคตในระบบเศรษฐศาสตร์ของโลก ‘Crypto’ ที่จะเกิดการหมุนเวียนในอนาคต เป็นระบบเศรษฐกิจระบบหนึ่งในโลกดิจิทัล

ปัจจัยที่ส่งผลต่อรระบบ Tokenomic หรือ เศรษฐศาสตร์ของโทเคน

1.การกระจายและการจัดสรรโทเคน (Distribution and allocation of tokens)

ปัจจัยหลักประการหนึ่งที่ตัดสินมูลค่าของโทเคน Crypto คือวิธีการแจกจ่ายโทเคน ที่มีวิธีในการสร้างโทเคนการเข้ารหัส โดยการขุดล่วงหน้าหรือทำ Fair Launch ที่หมายถึงสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกขุดขึ้นมาและถูกควบคุมโดยชุมชนตั้งแต่แรกเริ่ม เป็นเครือข่ายที่กระจายอำนาจและไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสรรส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ด้วยการขุดล่วงหน้า เหรียญจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะถูกขุดและทำการแจกจ่ายก่อนที่จะเปิดตัวสู่สาธารณะ และส่วนที่ 2 จะถูกทำการ ICO ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้รางวัลแก่ นักขุด และนักลงทุนรายแรกๆ ด้วยเหรียญที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่

2.การจัดหาโทเคน Supply of token

เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากในการศึกษาโทเคนของการเข้ารหัสลับ ที่จะประกอบไปด้วยอุปทาน 3 ประเภท ได้แก่

      1) อุปทานหมุนเวียน Circulating Supply คือ จำนวนโทเคนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกสู่สาธารณะและมีการหมุนเวียนเกิดขึ้น

      2) อุปทานทั้งหมด Total Supply คือ จำนวนของโทเคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ลบด้วยโทเคนทั้งหมดที่ถูกเผา คำนวณออกมาเป็นผลรวมของโทเคนที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันและโทเคนที่ถูกล็อคไว้

     3) อุปทานสูงสุด Max Supply คือ จำนวนโทเคนสูงสุดที่จะถูกสร้างขึ้น

 ซึ่งการสังเกตอุปทานของโทเคนอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในอนาคต หากส่วนของอุปทานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนจะสามารถคาดหวังได้ว่ามูลค่าของโทเคนจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีการปล่อยโทเคนออกมามากเกินไป ค่าของโทเคนก็อาจจะลดลง

3.มูลค่าตลาดของโทเคน Market Capitalization of a token

ในบริบทของ Cryptocurrency มูลค่าตลาดจะเป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดความนิยมของโทเคน ที่สามารถคำนวณได้โดยการคูณราคาตลาดปัจจุบันของโทเคนกับอุปทานหมุนเวียน ก็จะได้มูลค่าตามราคาตลาดที่เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีถึงมูลค่าของโทเคน

4.โมเดลโทเคน Token Model

โทเคนการเข้ารหัสทุกอันมีรูปแบบที่กำหนดมูลค่าของตัวเอง Inflationary Tokens นั้นจะไม่มีการกำหนดอุปทานสูงสุด ทำให้เราสามารถขุดเหรียญนั้นได้เรื่อยๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ Deflationary Tokens ที่มีการกำหนดอุปทานสูงสุดไว้อย่างชัดเจน โดย Deflationary Tokens จะมาช่วยในเรื่องของการหลีกเลี่ยงการหมุนเวียนเหรียญที่ขายไม่ออก ซึ่งมักจะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาด แต่ในทางกลับกัน Inflationary Tokens จะสามารถจูงใจนักขุด และผู้ตรวจสอบความถูกต้องในเครือข่ายได้ดี

5.เสถียรภาพราคา Price Stability

Tokenomic ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาผลกระทบของเสถียรภาพราคา Cryptocurrency นั้นมีความผันผวนมาก อาจไม่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับนักลงทุน ความผันผวนมักจะทำให้ความสนใจของนักลงทุนลดน้อยลง นอกจากนี้ความผันผวนยังอาจทำให้การลงทุนในโทเคนนั้นๆ ถูกจำกัดได้

นอกจากจะ Tokenomic ี่เราควรรู้แล้ว การศึกษา Whitepaper ก็เป็นเรื่องที่เราควรจะหยิบยกขึ้นมาประกอบการด้วยเช่นกัน เพราะ Whitepaper เป็นเหมือน company profile ที่จะทำให้เราได้ทำความรู้จัก และสนิทกับเหรียญ หรือโทเคนนั้นๆมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่